DoyouloveMe http://doyouloveme.siam2web.com/

พระพุทธศาสนากับโลกปัจจุบัน

 

มีบางคนเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นระบบที่ประเสริฐสูงส่งเกินกว่าที่สามัญชนทั้ง,
บุรุษและสตรีจะสามารถปฏิบัติตามได้ในชีวิตแบบโลกีย์ธรรมดาของเราท่านและเข้าใจว่า
ถ้าใครปรารถนาจะเป็นชาวพุทธจริงๆก็จะต้องปลีกตนออก จากสังคมโลกไปอยู่ในวัดวาอารามหรือสถานที่
ที่สงบเงียบข้อนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างน่าเสียดายทั้งนี้เนื่องจากขาดความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั่นเองที่คนเหล่าั้นั้นรีบสรุปแบบผิดเช่นนั้นก็เพราะผลจากการที่ตนฟังหรืออ่าน อย่างลวกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบางตอนที่ผู้เขียนบางคนผู้ที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาในทุกแง่ทุกมุมเขียนไว้ แต่ให้ทัศนะไว้เพียงบางตอนและมีอคติต่อเรื่องนั้น ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้เจาะจงไว้เพื่อภิกษุสงฆ์ในวัดเท่านั้นแต่เพื่อสามัญชนชายหญิงที่มีเหย้า มีเรือนอีกด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นแนวทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ เหมาะสมกับทุกคนโดยไม่แตกต่างกันเลย

 

ธรรมะกับคนทุกฐานะ

คนส่วนใหญ่ในโลก คงไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้ หรือแม้จะปลีกตัวออกไปอยู่ในถ้ำหรือในป่ากัน
หมดก็ไม่ได้พระพุทธศาสนาที่สูงส่งบริสุทธิ์ผุดผ่องคงจะไร้ประโยชน์สำหรับมวลมนุษยชาติเป็นแน่ถ้าพวกเขาไม่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันในโลกปัจจุบันได้ แต่ถ้าท่านเข้าใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว (และมิใช่รู้ตามตัวบทเท่านั้น) แน่นอนที่สุดท่านย่อมสามารถนำมาปฏิบัติตามได้ ในขณะที่ท่านดำรงตนเองอยู่แบบฆราวาสวิสัยนี่เอง อาจมีบางคนพบว่า มันง่ายและสะดวกกว่ามากที่จะปฏิบัติพุทธธรรม ถ้าเขาดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่ห่างไกล ตัดขาดจากการสังคมกับคนอื่น ๆ ส่วนคนอีกบางพวกอาจเห็นว่า การปลีกตนออกไปเช่นนั้นทำให้ชีวิตห่อเหี่ยว มีความกดดัน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และก็โดยวิธีนั้นจึงไม่เป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตทั้งทางด้านจิตใจและด้านพุทธิปัญญา การสละโลกอย่างแท้จริงนั้น ไม่ได้หมายความว่าหนีออกไปจากโลกโดยทางร่างกาย พระสารีบุตร อัครสาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวว่า
คนคนหนึ่ง อาจจะเข้าไปอยู่ในป่าอุทิศตนบำเพ็ญธรรมอย่างฤาษีชีไพร แต่จิตใจอาจจะไม่บริสุทธิ์
เต็มไปด้วยกิเลสาสวะ ส่วนอีกคนหนึ่งอาจจะอยู่ในหมู่หรือในเมือง โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยแบบนักพรตนั้นเลยแต่จิตใจของเขาอาจจะบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสได้ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าในบุคคล สองจำพวกนี้คนที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริสุทธิ์ในหมู่บ้านหรือในเมืองย่อมประเสริฐสูงส่งกว่าผู้ที่เข้าไปอยู๋ในป่า (แต่ใจมีกิเลส)เป็นไหน ๆความเชื่อทั่วไปที่ว่า การที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ได้นั้น จะต้องปลีกชีวิตออกไปเลยนั้นเป็นความเชื่อที่ผิดนับเป็นความเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติธรรม โดยขาดดุลยพินิจที่แท้จริงอย่างยิ่งมีหลักฐานอยู่มากมายในวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่บอกว่า บุรุษและสตรีที่มีชีวิตอยู่แบบครองเรือนธรรมดาสามัญ ก็ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างมีผลสำเร็จ และยังรู้แจ้งแทงตลอดถึงขั้นพระนิพพานได้ ครั้งหนึ่ง วัจฉโคตรปริพพาชก (ที่เราพบในบทว่าด้วยอนัตตา) เคยทูลถามพระพุทธเจ้าตรง ๆ ว่ามีไหม ? อุบาสกอุบาสิกาที่อยู่ครองเรือน ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างมีผล และบรรลุสภาวะทางจิตขั้นสูงส่ง พระพุทธองค์ทรงเน้นอย่างชัดเจนยิ่งว่า “ มิใช่มีเพียงคนสองคน เพียงร้อยสองร้อยหรือห้าร้อย แต่มีอุบาสกอุบาสิกามากมายกว่านั้นมาก ที่อยู่อย่างฆราวาสวิสัย ปฏิบัติตามธรรมะของพระองค์อย่างมีผล
และบรรลุถึงสภาวะทางจิตชั้นสูงส่งมาแล้ว ”น่าอนุโมทนายิ่งสำหรับท่านที่ไปดำรงชีวิตอยู่อย่าง
โดดเดี่ยวในที่สงบห่างไกลจากเสียงอึกทึกและสิ่งรบกวนใด ๆ แต่มันน่าสรรเสริญเพิ่มศรัทธาปสาทะมากกว่ายิ่งนักถ้าปฏิบัติธรรมโดยอยู่ในท่ามกลางเพื่อนมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและบริการรับใช้ต่อเพื่อน ๆ เหล่านั้นด้วย ในบางกรณีมันอาจเกิดประโยชน์ยิ่งสำหรับคนเราที่จะปลีกตนออกไปปฏิบัติธรรมเป็นครั้งคราวเพื่อปรับปรุงจิตและนิสัยด้วยการฝึกศีล สมาธิ และปัญญาขั้นต้น เพื่อให้กล้าแข็งพอที่จะออกมาช่วยเหลือผู้อื่นในภายหลัง แต่ถ้าใครปลีกตนไปอยู่ที่สงัดตลอดชีวิตมุ่งเฉพาะความสุขส่วนตน ทางรอดส่วนตนฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงเพื่อนมนุษย์เลย แน่นอนนี้ไม่ใช่การบำเพ็ญตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความเมตตา ความกรุณา การใช้ความช่วยเหลือคนอื่นเป็นพื้นฐาน บัดนี้อาจจะมีใครถามว่า “ ถ้าบุคคลสามารถปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาขณะที่มีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสวิสัย ทำไม่พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพระสงฆ์ด้วยเล่า ?”พระสงฆ์เอื้อโอกาสให้เหล่าชนผู้เต็มใจที่จะอุทิศชีวิตตนไม่เพียงเพื่อการพัฒนาจิตและพุทธิปัญญาของตนเองเท่านั้นแต่เพื่อรับใช้คนอื่น ๆ ด้วย อุบาสาสามัญที่ครองเรือนอยู่นั้น ย่อมไม่สามารถอุทิศชีวิตทั้งชาติเพื่อรับใช้ผู้อื่นได้ ส่วนพระสงฆ์ไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่มีพันธะในทางโลกีย์วิสัยอื่นใด จึงอยู่ในฐานะที่จะอุทิศทั้งหมด “ เพื่อประโยชน์ของชนหมู่มากเพื่อความสุขของชนหมู่มาก ” ดังที่พระองค์ทรงตรัสแนะนำไว้ ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงว่าตลอดระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ วัดทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเพียงศูนย์กลางทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและทางวัฒนธรรมด้วย

 

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่ใฝ่ธรรมะ ซึ่งประกอบด้วย

   1. พระสงฆ์ หรือ พระภิกษุ คือ พระบุรุษที่ถือศิล 227 ข้อ ที่มีความมุ่งหวังสู่โลกุตตรธรรม หาใช่เพียงที่นุ่งห่มด้วยเครื่องแต่งกายของสงฆ์

    2. พระภิกษุณี คือ พระสตรีที่ถือศิล 311 ข้อ

    3.อุบาสก คือ คฤหัสถ์ชายที่แสดงตน ประกาศว่าขอพึ่งพระรัตนตรัย มักถือศิล 5 ในวันธรรมดา และศิล 8 ในวันพระ

                อุบาสิกา คือ คฤหัสถ์หญิงที่แสดงตน ประกาศว่าขอพึ่งพระรัตนตรัย มักถือศิล 5 ในวันธรรมดา และศิล 8ในวันพระ

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 3,941 Today: 5 PageView/Month: 34

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...